การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต

    การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิต



   -   การเคลื่อนไหว   เป็นการเคลื่อนย้ายเพียงบางส่วนของร่างกาย
   -   การเคลื่อนที่    เป็นการเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

         * การเคลื่อนที่จะต้องมีการเคลื่อนไหวด้วยเสมอ   แต่การเคลื่อนไหวไม่จำเป็นต้องมีการเคลื่อนที่ด้วย


                             การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

                                   
                    การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาสซึม

                                  
                                                การเคลื่อนไหวของอมีบา
*    การเคลื่อนไหวอาศัยการไหลของไซโทพลาสซึม โดยแบ่งเป็น ส่วน คือ ectoplasm(แข็งและ endoplasm(เหลว)
*    Actin และ Miosin ประกอบกันเป็น microfilament(เป็นเส้นใยโปรตีนเล็กๆหดตัวและคลายตัวได้ ทำให้เกิดการไหลของไซโทพลาสซึม
*    ทำให้เกิดเท้าเทียม(pseudopodium)
*    การเคลื่อนที่แบบอะมีบา (amoebiod movement)
*    ได้แก่ อมีบา เม็ดเลือดขาว ราเมือก

อะมีบา:: เคลื่อนที่โดยอาศัยการไหลของไซโทรพลาสซึม หรือเท้าเทียม (Pseudopodium(ชูโดโพเดียม)โดยการที่ไซโทรพลาสซึมจะไหลได้นั้นเกิดขึ้นจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ
1.เอ็กโทพลาสซึม (Ectoplasm) เป็นไซโทรพลาสซึมที่อยู่ข้างนอก มีลักษณะเป็นสารกึ่งแข็งกึ่งเหลว เรียกว่า เจล (gel) 
2.เอ็นโดพลาสซึม (Endoplasm)เป็นไซโทรพลาสซึมทีอยู่ด้านในมีลักษณะค่อนข้างเหลว
 เรียกว่าโซล (sol) 

 3.ไมโครฟิลาเมนท์ 
                                   
 การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตมีกระดูกสันหลัง





1. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังด้านใดด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ทำให้เกิดการโบกพัดของครีบหาง(Caudalfin) ดันให้ตัวพุ่งไปข้างหน้าโดยมีครีบหลัง(Dorsalfin) ช่วยในการทรงตัวไม่ให้เสียทิศทาง




2. เมื่อกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับกระดูกสันหลังอีกด้านหนึ่งหดตัว (เริ่มจากส่วนหัวมาทางส่วนหาง) ก็จะมีผลเช่นเดียวกับ ข้อ 1



3. ครีบอก(Pectoralfin) และครีบตะโพก(Pelvicfin) ซึ่งเทียบไปกับขาหน้าและขาหลังของสัตว์บก จะทำหน้าที่ช่วยพยุงลำตัวปลา และช่วยให้เกิดการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งการเคลื่อนที่ของปลาเป็นรูปตัว S สลับไปสลับมาการที่ปลามีรูปร่างยาวแบน และมีครีบที่แบนบาง ทำให้ปลาเคลื่อนที่ไปในน้ำได้ทั้ง สามมิติ คือ สามารถ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือถอยหลังก็ได้ เลี้ยงซ้ายเลี้ยวขวาก็ได้ และขึ้นลงในแนวดิ่งก็ได้ ถ้าหากเคลื่อนที่ไปข้างหรือถอยหลังอย่างเดียว เป็นการเคลื่อนที่แบบมิติเดียว ถ้าหากมีเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาด้วย เป็นการเคลื่อนที่สองมิติ และถ้าหากมีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งขึ้นลงไปพร้อมๆกันด้วย ก็จัดว่าเป็นการเคลื่อนที่แบบสามมิติ

                          การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลัง




สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนมีของเหลวที่เรียกว่า มีโซเกลีย (mesoglea) แทรกอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นนอกและเนื้อเยื่อชั้นใน การเคลื่อนที่ของแมงกะพรุนเกิดจากการหดตัวของเนื้อเยื่อบริเวณขอบกระดิ่งและที่ผนังลำตัวสลับกันทำให้เกิดแรงดันของน้ำผลักตัวแมงกะพรุนให้พุ่งไปในทิศทางตรงข้ามกับน้ำที่พ่นออกมา

ความคิดเห็น